วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความแตกต่างระหว่างแว่นตาผ่าตัดแบบ TTL กับแว่นตาผ่าตัดแบบ Flip up

ความแตกต่างระหว่างแว่นตาผ่าตัดแบบ TTL 


กับแว่นตาผ่าตัดแบบ Flip up

      ท่านครับสำหรับแว่นตาผ่าตัดทางการแพทย์หรือทันตแพทย์ที่
ใช้กันนี้ ไม่เหมือนกันนะครับ มันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
หลัก ๆ คือ

         1. แบบที่เรียกกันว่า TTL หรือแปลได้ว่า Trough - The - Lens หรือแปลให้เป็นไทยคือ เป็นแว่นตาผ่าตัดประเภทที่เลนส์ขยายเจาะเข้าไปในแว่น แว่นตาผ่าตัดแบบนี้เรียนว่าราคาสูงครับ ถ้าเทียบกับแบบที่สองที่ผมจะได้กล่าวต่อไป ราคาสูงกว่ากันประมาณ 4 เท่าหรือมากกว่าก็ว่าได้ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งผมจะได้อธิบายต่อไปครับ





มาชมความแตกต่างของแว่นตาผ่าตัดแบบ TTL กับแบบ Flip up

         ที่ท่านเห็นทางซ้ายมือนี้จะเรียกว่า Flip up Loupes หรือแว่นตาผ่าตัดแบบ Flip up ส่วนที่อยู่ทางขวามือจะเรียกว่า TTL loupes(Through the lens Loupes) 






อันนี้ผมถ่ายให้เห็นของจริงครับ ที่เห็นนี้คือ Flip up Loupes ซึ่งท่านจะสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อพับเลนส์จนสุดแล้ว ก็ยังคงมีช่องว่างระยะระหว่างเลนส์ขยายกับ ตาของผู้สวมใส่อยู่ดี 




เพราะว่าเลนส์ขยายนี้มิได้เจาะหรือทะลุเข้าไปในกระจกแว่น แต่จะอยู่แต่เพียงด้านนอกเท่านั้น ทำให้มุมมองของการมองเห็นจะแคบกว่า และเห็นยากกว่า ผู้สวมใส่ต้องใช้เวลาสักหน่อยในการปรับสายตา เพื่อทำความคุ้นเคยกับแว่น แว่นตาแบบนี้ท่านสามารถไปตัดเลนส์สายตามาใส่แทนกระจกที่ท่านเห็นได้เลยครับสะดวกมาก ๆ แว่นตาผ่าตัดแบบนี้ราคาย่อมเยากว่าค่อนข้างมากด้วย และหาซื้อได้ง่ายกว่าครับ



ส่วนที่เห็นด้านล่างนี้คือ ภาพจริงของแว่นตาผ่าตัดแบบ TTL  ท่านจะสามารถสังเกตุเห็นได้อย่่างชัดเจนเลยว่า ชุดของเลนส์ขยาย ถูกเจาะผ่านเข้าไปในกระจก ซึ่งลักษณะนี้แล้วจะทำให้เลนส์ขยายกับตาของผู้ใช้หรือผู้สวมใส่ อยู่ใกล้กันมากกว่า ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นภาพของวัตถุได้ง่ายกว่า และค่อนข้างจะชัดเจนกว่า แต่ทั้งนี้แล้วราคาก็จะแพงกว่าค่อนข้างมากด้วย และก็ไม่สามารถเปลี่ยนกระจกแว่นเป็นเลนส์สายตาที่เหมาะสมกับสายตาท่านได้ด้วย เพราะว่าถูก Fix ไปแล้ว




เปรียบเทียบมุมมองระหว่างแว่นตาแบบ TTL และแว่นตาแบบ Flip up

          ผมอยากให้ท่านดูำภาพเปรียบเทียบของแว่นทั้งสองรุ่นนี้อีกครั้งครับ








        จากภาพด้านบนนั้นท่านจะพบว่า แว่นตาผ่าตัดแบบ TTL นั้นเลนส์ของแว่นจะอยู่ใกล้กับลูกตาคนใส่มากกว่า(ภาพที่ 3) ฉะนั้นแล้วจะมองเห็นขอบเขตของภาพได้มากกว่า ซึ่งก็คือเห็นภาพได้มากกว่าและชัดกว่าาด้วย

         ในขณะเดียวกันถ้าเปรียบเทียบกับแว่นตาผ่าตัดแบบ Flip up นั้นเลนส์ของแว่นจะอยู่ห่างจากลูกตาของคนใส่มากกว่า คือเลนส์ของแว่นจะอยู่นอกกระจกแว่น เพราะฉะนั้นคนใส่จะเห็นภาพก็เมื่อมองออกมาจากในแว่นตา ดังนั้นแล้วทำให้ภาพที่เห็นผ่านแว่นตาแบบ Flip up นี้จะมองเห็นด้วยขอบเขตที่จำกัดกว่า คือมองเห็นได้แคบกว่าหรือน้อยกว่านั่นเอง 

เปรียบเทียบภาพหน้าตรงของแว่นทั้งสองแบบ 


        อยากให้ท่านสังเกตุภาพหน้าตรงของแว่นทั้งสองรุ่นอีกครั้งครับท่านจะพบว่า แว่นแบบ TTL(แว่นด้านขวา) นี่จะไม่สามารถปรับอะไรได้เลยนะครับ ไม่ว่าจะไปปรับให้ก้มหรือเงย หรือจะไปปรับเข้า-ออก(หรือปรับให้ขยับไปซ้ายหรือขวา คือถ้าหากท่านจะตัดสินใจซื้อสักอันแล้ว ระยะระหว่างลูกตาทั้งสองของท่านที่แน่นอนที่สุดหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Interpupillary Distance นั้นท่านจะต้องระบุให้แน่ชัดเพื่อที่ว่าผู้จำหน่ายเขาจะนำระยะนี้ไปเจาะกับกระจกแว่นเพื่อฝังเลนส์ลงไปในตำแหน่งที่แน่นอนที่สุดของลูกตาท่าน ตรงนี้ละครับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แว่นแบบ TTL นี่แพงกว่าแว่น Flip up เพราะมันต้องตัดตามความต้องการของลูกค้านั่นเอง

บทสรุปข้อดีข้อเสีย ของแว่นตาผ่าตัดทั้งสองชนิด





โดยสรุปแล้วแว่นแบบ TTL  นี้จะมีน้ำหนักที่เบากว่าครับ 
 เพราะว่า่ท่านจะเห็นว่ามันไม่มีชุดพยุงเลนส์อะไรเลย 
 เพียงแค่เจาะเข้าไปในกระจกแล้วฝังเลนส์เข้าไปเท่านั้น ฉะนั้นแล้วน้ำหนักจะเบากว่ามาก ทั้งนี้แล้วมุมมองยังกว้างกว่าด้วย แต่ข้อเสียก็มีคือมันปรับอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะปรับขึ้นลง หรือปรับระยะตาให้เข้าหรือออก ทั้งนี้ราคาก็สูงด้วย

        ในส่วนของบทสรุปของแว่นแบบ Flip up นี่จะใช้งานได้ง่ายกว่า ราคาย่อมเยากว่า ปรับขึ้นลงได้ ปรับระยะห่างระหว่างตาได้ แต่ข้อเสียก็มีคือน้ำหนักค่อนข้างมาก ฉะนั้นเวลาใส่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสายรัดศีรษะเพื่อกันแว่นหล่นโดยไม่ตั้งใจ และมุมมองจะแคบกว่าด้วย 

          สรุป ๆ แล้วแว่น Flip up นี้จะยืดหยุ่นกว่าค่อนข้างมากนะครับ ดูเหมือนจะมีคนใช้กันมากกว่าค่อนข้างมากด้วย ด้วยราคาที่ไม่สูงจนเกินไปนัก และสามารถใช้ได้โดยไม่ระบุบุคคล เพราะมันสามารถปรับได้หมด ถ้าท่านฝึกการใช้ทุกวัน ๆ ก็จะคุ้นเคยและชินกับการใช้งานไปเอง และท่านจะพบว่ามันมีประโยชน์มาก ๆ ทีเีดียว 

วันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2557

แว่นตาแบบสปอร์ตกรอบพลาสติกกำลังขยาย 3.5 เท่าขนาดกำลังขยาย 420 มิลลิเมตร

แว่นตาผ่าตัดขนาดขยาย 3.5 เท่า, แว่นตาทันตแพทย์ขนาดกำลังขยาย 3.5 เท่า ระยะทำงาน 420 มิลลิเมตร

สนใจผลิตภัณฑ์ โทรสอบถามผมได้ครับ 0868910596 ผมอนันต์ครับ หรือต้องการชมผลิตภัณฑ์ โทรสอบถามได้ครับ


     สำหรับแว่นขยายสำหรับแพทย์ผ่าตัดหรือทันตแพทย์ที่ใช้กัน
นั้นถ้าหากท่านผู้ใช้บางท่านที่ต้องการความสบายในการสวมใส่ หรือสำหรับท่านที่้ต้องใส่เกือบตลอดเวลา หรือใส่ทำงานเป็นเวลาที่ยาวนานนั้น แว่นแบบกรอบแว่นเป็นพลาสติกจะดูเหมาะสมกว่าครับ เหตุผลในเรื่องของความเบาของกรอบ จะทำให้ความล้าในการสวมใส่ดูจะน้อยกว่า ทั้งนี้คุณภาพของเลนส์ก็ยังคงความคมชัดอยู่ด้วย


สำหรับแว่นตาทันตแพทย์แบบ Sport ที่ผมแนะนำนี้จะเป็นกำลังขยายขนาด 3.5 เท่า ระยะปฎิบัติการ 420 มิลลิเมตร ซึ่งถือได้ว่าเป็นระยะที่กำลังดีและมีความเหมาะสม ในการใช้งานครับ ผมเคยนำเข้าแว่นที่มีระยะปฎิบัติการต่ำกว่านี้ คือระยะปฎิบัติการ 340 มิลลิเมตร จากประสบการณ์พบว่าไม่ค่อยจะเหมาะสมกับการใช้งานสัก
เท่าไรนัก เพราะว่าระยะการมองเห็นที่ชัดเจนที่สุดค่อนข้างสั้น ซึ่งตรงจุดนี้สำคัญมากครับ เพราะหากผู้ใช้ตัดสินใจซื้อแล้วจะแก้ไขอะไรไม่ได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าแว่นผ่าตัดแบบระยะปฎิบัติการใกล้จะใช้ทำอะไร
ไม่ได้นะครับ เพราะว่ามันเหมาะสมกับงานเฉพาะอย่างจริง ๆ เช่น งานที่ต้องทำในระยะใกล้ ๆ สายตา เพื่อป้องกันการผิดพลาด


เปรียบเทียบลักษณะของเลนส์กำลังขยาย 3.5 เท่าระยะ 420 mm. กับเลนส์กำลังขยาย 2.5 เท่าระยะ 420 mm. จะพบว่าขนาดของเลนส์ความยาวโฟกัสจะมากกว่า ด้วยกรณีเช่น แว่นขยายขนาดกำลังขยายที่มากกว่า จะมองเห็นภาพได้ชัดเจนกว่า แต่ว่าขอบเขตของการมองเห็นจะน้อยกว่าคือ แว่นจะขยายเฉพาะจุดที่มากขึ้น ทำให้มองเห็นพื้นที่รอบข้างได้น้อยลงนั่นเอง



ด้วยเหตุนี้แล้ว แว่นตาทันตแพทย์แบบกำลังขยายสูง ๆ จะเหมาะกับงานเฉพาะอย่าง เช่น งานที่ต้องเพ่งมองจุด ๆ เดียวเป็นเวลานาน โดยมีการเปลี่ยนจุดการมองน้อยครั้งกว่า เช่น รักษาคลองรากฟัน, ฝังรากเทียม ฯลฯ จะเหมาะมาก เพราะว่า ผู้ใช้จะสามารถมองเห็นจุดที่ต้องการได้ชัดเจนและลึก

 สำหรับแว่นขนาดขยาย 3.5 เท่าสไตล์แว่นกรอบสปอร์ตรุ่นที่ผมจำหน่ายนี้ สามารถออกแบบให้ใช้กับ ชุดหลอดไฟ LED ผ่าตัดได้ด้วยครับ


คือติดส้อมไฟกับปุ่มปรับ Interpupillary Distance ได้


มีบางท่านมีคำถามว่า ปกติในห้องผ่าตัด หรือยูนิตทำฟันส่วนใหญ่ก็มีไฟมีสปอร์ตไลท์อยู่แล้ว แล้วเพียงแค่หลอดไฟเล็ก ๆ จะมีประโยชน์อะไรจะช่วยอะไรได้มากแค่ไหน

         ตรงนี้ผมอยากให้ท่านชมภาพนี้ครับ 


ที่ท่านเห็นเป็นทันตแพทย์ต่างประเทศ ซึ่งบางครั้งเขาก็ใช้ไฟดวงเล็ก ๆ แบบนี้ช่วยเหมือนกันครับ แสงสว่างนั้นสำคัญครับ ยิ่งความสว่างมีมาก ยิ่งทำงานได้ง่ายขึ้น หลอดไฟผ่าตัดแบบพกพาชุดเล็ก ๆ แบบนี้ปกติแล้วจะทำขึ้นมาจำหน่ายเป็นแพ็คเก็จกับแว่นผ่าัตัด
ด้วยซ้ำไปครับ คือคล้ายกับว่าจะเป็นของคู่กัน แต่ถ้าหากผู้ใช้เห็นว่ามีความจำเป็นน้อยก็อาจจะไม่ต้องใช้ก็ได้ครับ ในกรณีที่ต้องทำการปฎิบัติงานเป็นระยะเวลานาน แบตเตอรี่ของไฟเล็ก ก็คงจะไม่ยาวนานพอ แต่ถ้าท่านเลือกใช้ในกรณีที่จำเป็น ก็จะมีประโยชน์มากครับ 

สรุปสเปคแว่นสปอร์ตขนาด 3.5 เท่าระยะทำงาน 420 มม.

Magnification(กำลังขยาย): 3.5X

Working distance(ระยะปฎิบัติงาน): 420 mm.
Depth of field(ขอบเขตของความลึกการมองเห็น): 80 mm.
Field of View(ขอบเขตของการมองเห็น): 60 mm.
สนใจผลิตภัณฑ์โทรสอบถามผมได้ครับ ผมอนันต์ครับTel.0868910596  หรือต้องการชมสินค้า มาชมที่ร้านนิวไชน่า อยู่ย่านเยาวราชครับ แต่โทรนัดเวลากันสักหน่อยจะดีมากครับ


ผมอยากให้ท่านเปรียบเทียบภาพทั้งสองภาพดังต่อไปนี้ครับ

ภาพนี้เป็นภาพของฟันในปากมนุษย์จำลองสมมติ(ด้านซ้าย) ซึ่งเมื่อถูกขยายขึ้นเมื่อท่านใช้แว่น Dental loupes ขนาด 3.5 เท่า แล้วจะเห็นฟันประมาณ 4 ซี่ ทั้งนี้จะมองเห็นความชัดเจนและรายละเอียดของฟันได้มากกว่าแว่น Dental Loupes ขนาด 2.5 เท่า



 ส่วนภาพด้านล่างนี้เป็นภาพของฟันในปากจำลองเช่นเดียวกับภาพบน แต่ถ้าหากว่าท่านมองปากนี้ด้วยแว่น Dental Loupes ขนาดกำลังขยาย 2.5 เท่า ซึ่งเป็นขนาดกำลังขยายปกติ ท่านจะมองเห็นฟันในปากได้มากกว่า คือขอบเขตของการมองเห็นจะกว้างกว่า จะเห็นฟันได้ 5 ซี่ แต่ว่าจะเห็นรายละเอียดของแต่ละฟันได้น้อยกว่า






ในชุดแว่นจะมีฝาครอบป้องกันเลนส์มาให้ พร้อมทั้งสายคล้องรัดศีรษะมาให้ด้วยครับ ซึ่งจำเป็นมากสำหรับแว่นตาทันตแพทย์แบบ Flip-up เพราะสายรัดนี้จะเป็นตัวช่วยประคองการตกหล่นของแว่นได้
เป็นอย่างดี ซึ่งอีกข้อแนะนำหนึ่งที่ท่านต้องทำเสมอ หรือไม่ว่าบุคคลใดจะมาใช้แว่นลักษณะนี้คือ ต้องใส่สายรัดศีรษะให้เรียบร้อยก่อนใช้งาน มิฉะนั้นแล้วโอกาสตกหล่นมีสูงมาก ๆ ครับ เพราะชุดเลนส์และชุดพยุงเลนส์จะไปหนักทางด้านหน้า ทั้งนี้ในส่วนของจมูกจะมีตัวป้องกันการกระทบกระเทือนด้วยทำให้ใช้งานง่าย และเห็นภาพได้ชัด




 แว่นขยายสำหรับทันตแพทย์, ศัลยแพทย์ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร (ตอนที่ 2)

1. Field of View คืออะไร



        มันคือขอบเขตของการมองเห็นเมื่อท่านได้สวมใส่แว่น Dental Loupes โดยปกติถ้าท่านมองเข้าไปในปากเมื่อไม่ใส่แว่นขยายท่านก็จะเห็นฟันได้ทั้งปาก แต่เมื่อใดก็ตามแต่ที่ท่านได้ใส่แว่นขยาย Dental Loupes เข้าไปแล้วภาพของฟันในปากจะถูกบีบให้แคบลง แต่ในขณะเดียวกันภาพนั้นจะชัดขึ้น เสมือนหนึ่งเป็นการดึงภาพให้ลอยขึ้นมานั่นเอง 
        ยกตัวอย่างในภาพนี้ขอบเขตของการมองเห็นเมื่อท่านสวมใส่
แว่น Dental Loupes ขนาด 2.5 เท่าขนาด 420 มิลลิเมตร ท่านจะเห็นภาพในเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 130 มม. 

       ปกติแล้วแว่นขนาดกำลังขยาย 2.5 เท่าจะถูกแนะนำให้ใช้(Recommended use) มากที่สุด ลองลงมาคือขนาดกำลังขยาย 3.5 เท่า ถ้าหากเป็นกำลังขยายสูง ๆ แล้วจะถูกแนะนำให้ใช้งานน้อยกว่าครับ ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะภาพที่จะเห็นได้จะมีขอบเขตหรือ Field of view ที่น้อยลงเรื่อย ๆ จนแทบจะเป็นการใช้งานชนิดที่เรียกว่าจำเพาะจริง ๆ เช่นผมอยากให้ท่านลองดูภาพที่จะเห็นจากแว่นขยาย Dental Loupes ขนาด 4.0 เท่า จะเป็นดังนี้ครับ
  


ท่านจะเห็นว่าปากทั้งปากท่านจะมองเห็นฟันอยู่แค่ 2 ซี่ครึ่งเ่ท่านั้นเอง แต่ทั้งนี้ไม่ใช่ว่าแว่นขนาดขยาย 4.0 เท่า จะเป็นกำลังขยายมากที่สุดแล้วนะครับ เพราะเท่าที่ผมหาได้ตอนนี้มีกำลังขยายสูงสุดถึง 7.0 เท่า

   ตารางข้างล่างนี้คือ Recommended use ของแว่นแบบ Dental Loupes ในระดับกำลังขยายต่าง ๆ 

     ท่านจะพบว่ากำลังขยายแต่ละกำลังขยาย จะเหมาะกับงานแต่ละประเภท ซึ่งการเลือกกำลังขยายที่เหมาะสม พูดอีกนัยหนึ่งก็คือการเลือก Field of View ที่เหมาะสมนั่นเองครับ 
 Experience shows that the most commonly used and recommended magnification for loupes in different dental fields are as follows:
Specialty
Magnification
General dentistry, Dental hygiene, Implantology:
2.5x .3.0x. 3.5
Endo, Crown and Bridge work:
3.5x - 4.0x
Lab work, Technician:
4.0x . 5.0x .6.0




2. Deep of Field คืออะไร
        Deep of Field คือคำอีกคำที่ท่านต้องทราบครับ ตามทฤษฎีของแว่นแบบ Dental Loupes นี้ ให้ความสำคัญกับค่านี้มากเช่นกัน พูดง่าย ๆ คือยิ่งมากยิ่งดี ค่านี้คือค่าความชัดหรือความลึกของภาพที่จะเห็นได้ผ่านแว่น Dental Loupes  







        ตามทฤษฎี(และความเป็นจริง) ค่า Deep of Field นี้จะสัมพันธ์กับระยะปฎิบัติงาน(หรือระยะทำงาน, working Distance) อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น แว่นตาขนาด 3.5 เ่ท่าทรงสปอร์ตที่ผมจำหน่ายนี้ มีระยะปฎิบัติงาน 420 มิลลิเมตร มีค่า Deep of field 80 มิลลิเมตร ถือได้ว่ามากพอควรทีเดียวครับ

วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

แว่นขยายทันตแพทย์แบบสปอร์ตกำลังขยาย 2.5 เท่า ระยะปฎิบัติการ 420 มิลลิเมตร

แว่นตาขยายสำหรับทันตแพทย์รูปทรงแว่น
สปอร์ต กำลังขยาย 2.5 เท่า 
ระยะทำงาน 420 มิลลิเมตร


สนใจผลิตภัณฑ์ โทรสอบถามผมได้ครับ ผมอนันต์ Tel. 0868910596

           โดยปกติแล้ว แว่นขยายสำหรับทันตแพทย์(Dental Loupes) ที่ถูกแนะนำให้ใช้อย่างยิ่ง(หรือถูก Recommended) ผู้สันทัดกรณีแนะนำให้ใช้ในขนาดกำลังขยาย 2.5 เท่า ส่วนระยะทำงานที่เหมาะสมก็ให้เป็นไปตามความถนัดของแต่ละบุคคลครับ

MAGNIFICATION
The standard for general dental procedures is stated as being 2.5x magnification. 

มีคำถามที่ว่าแว่นขยายทันตแพทย์แบบทรงสปอร์ตนั้นมีอะไร

บ้างเป็นข้อดี คำตอบตรงนี้คือน้ำหนักจะเบากว่าครับ 

ใส่สบายกว่า 

และโดยกรอบกระจกจะครอบคลุมนัยน์ตาได้มากกว่า 

โดยที่ท่านไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะต้องใส่ Side Shield หรือ 

กระจกกันข้าง
  
(สำหรับกันของเหลวกระเด็นเข้ามาทางด้านข้างของนัยน์ตา) 

สำหรับแว่นขนาดกำลังขยาย 2.5 

เท่าทรงสปอร์ตที่ผมจำหน่ายนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่แว่นขยาย

แบบ Flip-up จะพึงมีทุกประการครับ 

มาชมคุณสมบัติของแว่นสปอร์ตขนาดขยาย 2.5 เท่า 

ระยะปฎิบัติการ 420 มิลลิเมตรกันครับ

ในแพ็คเกจ มี Accesories มาให้ครบครับ ทั้งไขควงและ Spanner Folk 


มีฝาครอบกันเลนส์ให้เพื่อป้องกันเลนส์จากการถูกขีดข่วน 

ทั้งนี้เป็นการถนอนเลนส์ให้ใช้งานได้นานขึ้น


 ภาพหน้าตรงของแว่นสปอร์ตขนาดกำลังขยาย 2.5 เท่า


ภาพด้านในของกรอบแว่น อยากให้ดูที่โครงสร้างของกรอบครับ ว่าออกแบบมามิดชิดทีเดียว กรอบกระจกครอบคลุมได้ถึงหางตา ผู้ใช้ไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องของจะมี Content กระเด็นเข้ามาได้ ทั้งนี้บริเวณจมูกก็ออกแบบมามีที่รองด้วย


เป็นแว่นสปอร์ตแบบ Flip - up ที่สมบูรณ์แบบครับ สามารถปรับมุมก้มจนสุด จนสามารถปรับได้ถึงมุมเงยจนสุดได้



ความสามารถในการปรับมุมเงยจนเงยได้สุดนี้เป็นอีกเทคนิค
หนึ่งในการใช้งานแว่น Dental Loupes นะครับ ผู้ใช้บางท่านโดยเฉพาะถ้าเป็นมือใหม่อาจจะไม่ทราบมาก่อน คือ ถ้าหากท่านจำเป็นต้องใช้งานแว่นอย่างต่อเนื่องแล้ว ท่านไม่ควรจะถอดแว่นออกบ่อยครั้งจนเกินไปครับ เพราะมันจะทำให้ไม่ได้รับความสะดวกและอาจจะต้องคอยปรับโฟกัสการมองเห็นใหม่ทุกครั้ง ๆ อาจจะเกิดการตกหล่น อาจจะเกิดการหักเสียหาย ฯลฯ
      ไม่เพียงเท่านั้นมือท่านอาจจะไปโดนเลนส์ขยายของแว่นโดยที่ไม่ตั้งใจทำให้เลนส์แว่นสกปรกเป็นรอยต้องถอดอีกครั้งออกมาทำความสะอาด เป็นต้น

โดยเฉพาะถ้าหากว่าว่าท่านกำลังอยู่ในชุดแพทย์ลักษณะนี้แล้ว การถอดแว่นออกท่านกลางผ้าคลุมมาก ๆ อาจจะยิ่งไม่สะดวก อยากให้ท่านดูทันตแพทย์ท่านนี้ หลังจากท่านเสร็จงานท่านจะยังไม่ถอดแว่นทันทีครับ แ่ต่จะใช้การยกแว่นขึ้นจนสุด เพื่อให้พ้นไปจากระยะการมองเห็น เพื่อจะได้อ่าน จดบันทึก หรือทำงานเอกสาร หรือแม้แต่คุยกับคนไข้ได้ ลักษณะการทำเช่นนี้คือจำเป็นต้องทำงานต่อเนื่องไปอีกครับจึงยังไม่ถอดแว่นใช้งานออกทันที





สำหรับระยะ Interpupillary Distance หรือระยะห่างระหว่างลูกนัยน์ตาดำทั้งสองข้างของผู้สวมใส่นี้ก็ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เพราะว่า่ท่านสามารถเลื่อนเข้าเลื่อนออกได้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว มันจะมีปุ่มปรับเพื่อหมุนเข้า - ออกได้ ซึ่งตรงนี้แล้วแต่ผู้ใช้แต่ละท่านจะปรับให้เหมาะสมได้

         ท่านครับปุ่มปรับระยะ Interpupillary Distance นี้ออกแบบมามีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ ซึ่งผมไม่คิดว่าแว่นแบบ TTL จะทำได้ อาทิเช่น เป็นที่เกาะที่จับของ Spanner Fork หรือส้อมปรับระดับชุดเลนส์ขยาย



คือผู้ใช้งานแว่น Dental Loupes นี้ถ้ามืออาชีพจริง ๆ แล้วเวลาปรับระยะขึ้นลงของเลนส์ขยายแล้ว จะไม่ไปจับตรงชุดเลนส์ขยายโดยตรงครับ แต่จะต้องจับที่ Spanner Fork แทนเพื่อป้องกันมือไปโดนที่เลนส์โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจจะทำให้เลนส์เป็นรอยได้ อย่างเช่นที่แพทย์ท่านนี้ทำครับ 




      ไม่เพียงเท่านั้น ปุ่มปรับระยะ Interpupillary Distance นี้สำหรับแว่นแบบ Flip-up แล้วจะเป็นที่ยึดจับของชุดไฟส่องสว่างไปด้วยครับ ซึ่งตรงนี้มันเป็นข้อดี ไม่เหมือนแว่นแบบ TTL ซึ่งจะต้องมีชุดยึดจับหลอดไฟที่เฉพาะกว่า และดูเหมือนว่าราคาก็จะแพงกว่าค่อนข้างมากด้วยครับ
(คือแพงกว่าทั้งตัวแว่น และชุดไฟส่องสว่าง)






สนใจผลิตภัณฑ์ โทรสอบถามผมได้ครับ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596 หรือถ้าต้องการชมสินค้ามาชมได้ที่ร้านนิวไชน่าครับ อยู่ที่ เยาวราช เฉลิมบุรี แต่ต้องโทรนัดเวลาสักหน่อยครับ



แว่นขยายสำหรับทันตแพทย์, ศัลยแพทย์ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร (ตอนที่ 1)
      สำหรับแว่นตาสำหรับทันตแพทย์นั้นในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Dental Loupes หรือ Surgical Loupes แปลเป็นไทยตรงตัวว่า "แว่นขยายทันตแพทย์" หรือ "แว่นขยายผ่าตัด" 

ปุจฉา : ความรู้พื้นฐาน
1. เพราะอะไรจึงควรจะมีแว่นขยายทันตแพทย์สักอันเพื่อใช้
2. เมื่อไรจึงสมควรจะมีแว่นขยายทันตแพทย์
3. กายวิภาคของแว่นขยายทันตแพทย์ 
    - แว่นขยายทันตแพทย์โดยหลัก ๆ ในตลาดที่จำหน่ายมี 2 แบบที่จำหน่ายคือ แว่นทันตแพทย์แบบ Flip-up, และแว่นทันตแพทย์แบบ TTL(Through the lens) 
    - กำลังขยายของแว่นทันตแพทย์ที่ควรจะเลือกใช้ควรจะอยู่
 ที่เท่าไร เช่น 2.5 เท่า หรือ 3.5 เท่า

วิสัชชนา เพราะเหตุใดท่านจึงควรจะีมีแว่นขยายทันตแพทย์ไว้ใช้ส่วนตัวสักอัน ? 
   ตรงนี้ถ้าหากท่านไม่ได้มีอาชีพอะไรที่เกี่ยวกับการต้องใช้สาย
ตาเพ่งเป็นเวลานาน ๆ โดยทั้งนี้วัตถุที่กำลังเพ่งเป็นวัตถุที่ท่านกำลังให้ความสำคัญอยู่ เช่น เป็นงานเกี่ยวกับทันตแพทย์, งานเกี่ยวกับงานผ่าตัด ศัลยกรรม หรือเป็นงานซ่อมแซมวัตถุชิ้นเล็ก ๆ แต่มีความสำคัญมาก ๆ ท่านก็คงไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่หากท่านมีอาชีพเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ และต้องทำเป็นประจำแทบทุกวัน หรือต้องทำค่อยข้างบ่อยแล้ว การมีแว่นตาลักษณะนี้สักอัน(เรียก Dental loupes) จะดีกว่ามาก ๆ เลยครับด้วยเหตุผลดังนี้คือ
                    ***ความสะดวกในการทำงานหรือกายวิภาคศาสตร์ในการทำ
 งานตามภาพแล้วท่านจะเห็นได้ว่าการทำงานในวิชาชีพเฉพาะแล้ว มันควรจะมีระยะการทำงานที่เหมาะสมที่สุด(Working Distance)เพื่อที่จะทำให้ผู้ปฎิบัติงานได้รับความสบายในการทำงานที่สุด ทั้งนี้ยังเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยที่จะได้รับการบริการที่ดีที่สุดไปด้วย เพราะถ้าหากการทำงานไม่ได้รับความสบายที่สุด ก็อาจจะไม่เป็นผลดีกับผู้มารับบริการไปด้วย 


่่

ภาพด้านล่างนี้อาจจะเห็นได้ชัดกว่าว่า ถ้าหากทันตแพทย์ท่านนี้ลองไม่ใส่แว่นอันนี้ทำงานแล้ว จะเห็นได้ว่า เขาก็คงต้องก้มหน้าก้มตาทำงานไปตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากมันไม่ใช้เวลานานนักในการทำงานก็คงจะไม่เป็นไร แต่ในความเป็นจริงแล้วทันตแพทย์มีงานต้องทำตลอดวัน ซึ่งก็คงจะไม่เหมาะแน่ ๆ ที่จะต้องก้มหน้าทำงานตลอดเวลาทั้งวัน








 ให้ท่านสังเกตุได้เลยว่ากระดูกสันหลังของทันตแพทย์ท่านนี้ ถ้าหากต้องนั่งทำงานทั้งวันแล้วและทุก ๆ วันแล้ว คงจะไม่เป็นผลดีในระยะยาวอย่างแน่นอน

















60 - 80 % ของทันตแพทย์ รวมทั้งศัลยแพทย์มีประสบการณ์จากการปวดหลัง ปวดต้นคอ อันมีสาเหตุมาจากท่าทางการทำงานที่ผิดวิธี ตรงนี้มีสาเหตุมาจากการพยายามที่จะมองไปยังจุดที่ต้องทำการรักษาให้อยู่ในระยะโฟกัสของสายตาให้มากทีุ่สุด เช่น ปาก, ลำคอ, หรือแผลที่กำลังทำการศัลยกรรมอยู่ ซึ่งสิ่งที่่ดีที่สุดที่จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้คือ ท่านควรจะมีแว่นตาเฉพาะสักอันที่เหมาะสมกับการทำงานในลักษณะนี้

     อีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ภาพของวัตถุที่จะเข้ามาสู่สายตาท่าน(ตามภาพ)


ตามที่เห็นตามภาพถ้าหากว่าท่านมีแว่นตาขยาย(Dental Loupes) ที่เหมาะสมใช้แล้ว ภาพที่ท่านจะได้เห็นก็จะชัดเจน มองเห็นรายละเอียดได้มากกว่า(ภาพทางด้านขวามือ) ซึ่งก็จะทำให้การทำงานสะดวกขึ้น เกิดข้อผิดพลาดในการรักษาและวินิจฉัยน้อยที่สุด เป็นต้น

เมื่อไรจึงถึงเวลาสมควรจะมี Dental Loupes สักอัน
     ทันทีที่ท่านพร้อมครับ เพราะจากประสบการณ์ที่ฝรั่งสรุปกันมา Dental Loupes มีประโยชน์แม้กระทั่งนักเรียนทันตแพทย์ฝึกหัดที่ยังเรียนไม่จบหลักสูตรด้วยซ้ำไป อย่างที่ได้เรียนไปแล้วว่าในเรื่องของความสะดวกสบายในการปฎิบัติงาน แต่สำหรับทันตแพทย์มืออาชีพ หรือศัลยแพทย์มืออาชีพแล้ว มันจะยิ่งทวีประโยชน์ได้มากขึ้นอีก เพราะจะช่วยในการวิเคราะห์ วินิจฉัย และให้การรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสมที่สุด


กายวิภาคของแว่นทันตแพทย์ และประเภทของแว่นทันตแพทย์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
     แว่นทันตแพทย์(Dental Loupes) ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเท่าที่เห็นมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือแว่นตาแบบ Flip-up และแว่นตาแบบ TTL(ย่อมาจาก Through the lens) ลักษณะและรูปร่างจะเป็นดังภาพด้านล่างครับ 



อยากให้ท่านชมภาพหน้าตรงของแว่นแบบ TTL และแว่นแบบ Flip-up ให้ชัดเจนอีกครั้ง



 ลักษณะที่เลนส์ขยายไปติดกับกระจกแว่นโดยตรง หรือถ้าไม่เช่นนั้นบางทีก็ติดตั้งแบบทะลุเข้าไปในกระจกแว่น
เลย เราจะเรียกแว่นลักษณะนี้ว่าเป็นแว่นแบบ TTL(Through the Lens dental loupes)    แว่นในลักษณะนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ ข้อดีคือเป็นแว่นที่เห็นได้ค่อนข้างจะชัดเจนและให้ขอบเขตมุมมองของภาพ(Field of views) ที่กว้างกว่า  อันเนื่องมาจาก ชุดของเลนส์ขยายอยู่ใกล้กับกับลูกนัยน์ตาของผู้สวมใส่มาก
กว่า จึงทำให้ตาของผู้สวมใส่มองเห็นขอบเขตได้กว้างกว่า 

        ส่วนข้อดีอีกประการก็คือ มันเป็น Dental loupes ที่เบาดีทีเดียวครับ เพราะว่ามันไม่มีชุดพยุงชุดเลนส์เหมือนแว่น Flip-up 
         ข้อเสียของแว่นแบบ TTL มีเช่นกันครับ ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ มันมีราคาค่อนข้างสูงทีเดียวครับ คือราคาจะสูงกว่าแว่นแบบ Flip-up ประมาณได้เป็นเท่าตัวทีเดียว เพราะว่ามันต้องวัดตัดครับ คือท่านต้องทราบระยะ Interpupillary Distance หรือระยะระหว่างนัยน์ตาดำทั้งสองของท่านให้แน่นอนเสียก่อน ซึ่งก็อาจจะต้องไปให้จักษุแพทย์วัด หรือเดินเข้าไปวัดที่ร้านประกอบแว่นตา เพื่อที่ท่านจะได้แจ้งระยะ Interpupillary Distance ให้กับผู้ผลิตได้ทราบตอนที่ท่านจะสั่งซื้อแว่นแบบนี้ 
          ข้อเสียอีกประการหนึ่งของแว่นแบบนี้ก็คือมันจะปรับอะไรไม่ได้อีกแล้วครับ ไม่ว่าจะยกขึ้นลงหรือเลื่อนระยะเข้าออก ด้วยเหตุนี้แล้ว ระยะระหว่างลูกตา(Interpupillary Distance) ที่วัดต้องพอดีมาก ๆ ครับ จึงจะใช้งานแว่นลักษณะนี้ได้ดี


 ในส่วนของแว่นตาแบบ Flip-up จะมีลักษณะที่ผิดไปจากแว่นแบบ TTL บางประการครับ คือมันจะเป็นแว่นแบบ Dental Loupes ที่เลนส์ขยายไม่ไปติดกับกระจกแว่นหรือทะลุเข้าไปในกระจกแว่น แต่จะอยู่ด้านนอก ซึ่งมันจะมีชุดพยุงเลนส์ขยายติดกับกับกรอบแว่น เพื่อพยุงเลนส์ขยาย ชุดพยุงเลนส์ขยายนี่มีประโยชน์มากทีเดียวครับ คือมันจะทำให้แว่นพับขึ้นลงปรับระดับสูงต่ำได้ และยังสามารถจะทำให้เลนส์ขยายเลื่อนเข้า - ออกได้ด้วย
(ตามภาพด้านล่าง)