วันอังคารที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2557

แว่นขยายทันตแพทย์แบบสปอร์ตกำลังขยาย 2.5 เท่า ระยะปฎิบัติการ 420 มิลลิเมตร

แว่นตาขยายสำหรับทันตแพทย์รูปทรงแว่น
สปอร์ต กำลังขยาย 2.5 เท่า 
ระยะทำงาน 420 มิลลิเมตร


สนใจผลิตภัณฑ์ โทรสอบถามผมได้ครับ ผมอนันต์ Tel. 0868910596

           โดยปกติแล้ว แว่นขยายสำหรับทันตแพทย์(Dental Loupes) ที่ถูกแนะนำให้ใช้อย่างยิ่ง(หรือถูก Recommended) ผู้สันทัดกรณีแนะนำให้ใช้ในขนาดกำลังขยาย 2.5 เท่า ส่วนระยะทำงานที่เหมาะสมก็ให้เป็นไปตามความถนัดของแต่ละบุคคลครับ

MAGNIFICATION
The standard for general dental procedures is stated as being 2.5x magnification. 

มีคำถามที่ว่าแว่นขยายทันตแพทย์แบบทรงสปอร์ตนั้นมีอะไร

บ้างเป็นข้อดี คำตอบตรงนี้คือน้ำหนักจะเบากว่าครับ 

ใส่สบายกว่า 

และโดยกรอบกระจกจะครอบคลุมนัยน์ตาได้มากกว่า 

โดยที่ท่านไม่ต้องเป็นห่วงว่าจะต้องใส่ Side Shield หรือ 

กระจกกันข้าง
  
(สำหรับกันของเหลวกระเด็นเข้ามาทางด้านข้างของนัยน์ตา) 

สำหรับแว่นขนาดกำลังขยาย 2.5 

เท่าทรงสปอร์ตที่ผมจำหน่ายนี้มีคุณสมบัติครบถ้วนที่แว่นขยาย

แบบ Flip-up จะพึงมีทุกประการครับ 

มาชมคุณสมบัติของแว่นสปอร์ตขนาดขยาย 2.5 เท่า 

ระยะปฎิบัติการ 420 มิลลิเมตรกันครับ

ในแพ็คเกจ มี Accesories มาให้ครบครับ ทั้งไขควงและ Spanner Folk 


มีฝาครอบกันเลนส์ให้เพื่อป้องกันเลนส์จากการถูกขีดข่วน 

ทั้งนี้เป็นการถนอนเลนส์ให้ใช้งานได้นานขึ้น


 ภาพหน้าตรงของแว่นสปอร์ตขนาดกำลังขยาย 2.5 เท่า


ภาพด้านในของกรอบแว่น อยากให้ดูที่โครงสร้างของกรอบครับ ว่าออกแบบมามิดชิดทีเดียว กรอบกระจกครอบคลุมได้ถึงหางตา ผู้ใช้ไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องของจะมี Content กระเด็นเข้ามาได้ ทั้งนี้บริเวณจมูกก็ออกแบบมามีที่รองด้วย


เป็นแว่นสปอร์ตแบบ Flip - up ที่สมบูรณ์แบบครับ สามารถปรับมุมก้มจนสุด จนสามารถปรับได้ถึงมุมเงยจนสุดได้



ความสามารถในการปรับมุมเงยจนเงยได้สุดนี้เป็นอีกเทคนิค
หนึ่งในการใช้งานแว่น Dental Loupes นะครับ ผู้ใช้บางท่านโดยเฉพาะถ้าเป็นมือใหม่อาจจะไม่ทราบมาก่อน คือ ถ้าหากท่านจำเป็นต้องใช้งานแว่นอย่างต่อเนื่องแล้ว ท่านไม่ควรจะถอดแว่นออกบ่อยครั้งจนเกินไปครับ เพราะมันจะทำให้ไม่ได้รับความสะดวกและอาจจะต้องคอยปรับโฟกัสการมองเห็นใหม่ทุกครั้ง ๆ อาจจะเกิดการตกหล่น อาจจะเกิดการหักเสียหาย ฯลฯ
      ไม่เพียงเท่านั้นมือท่านอาจจะไปโดนเลนส์ขยายของแว่นโดยที่ไม่ตั้งใจทำให้เลนส์แว่นสกปรกเป็นรอยต้องถอดอีกครั้งออกมาทำความสะอาด เป็นต้น

โดยเฉพาะถ้าหากว่าว่าท่านกำลังอยู่ในชุดแพทย์ลักษณะนี้แล้ว การถอดแว่นออกท่านกลางผ้าคลุมมาก ๆ อาจจะยิ่งไม่สะดวก อยากให้ท่านดูทันตแพทย์ท่านนี้ หลังจากท่านเสร็จงานท่านจะยังไม่ถอดแว่นทันทีครับ แ่ต่จะใช้การยกแว่นขึ้นจนสุด เพื่อให้พ้นไปจากระยะการมองเห็น เพื่อจะได้อ่าน จดบันทึก หรือทำงานเอกสาร หรือแม้แต่คุยกับคนไข้ได้ ลักษณะการทำเช่นนี้คือจำเป็นต้องทำงานต่อเนื่องไปอีกครับจึงยังไม่ถอดแว่นใช้งานออกทันที





สำหรับระยะ Interpupillary Distance หรือระยะห่างระหว่างลูกนัยน์ตาดำทั้งสองข้างของผู้สวมใส่นี้ก็ไม่ต้องเป็นห่วงครับ เพราะว่า่ท่านสามารถเลื่อนเข้าเลื่อนออกได้อย่างเต็มที่อยู่แล้ว มันจะมีปุ่มปรับเพื่อหมุนเข้า - ออกได้ ซึ่งตรงนี้แล้วแต่ผู้ใช้แต่ละท่านจะปรับให้เหมาะสมได้

         ท่านครับปุ่มปรับระยะ Interpupillary Distance นี้ออกแบบมามีประโยชน์มาก ๆ เลยครับ ซึ่งผมไม่คิดว่าแว่นแบบ TTL จะทำได้ อาทิเช่น เป็นที่เกาะที่จับของ Spanner Fork หรือส้อมปรับระดับชุดเลนส์ขยาย



คือผู้ใช้งานแว่น Dental Loupes นี้ถ้ามืออาชีพจริง ๆ แล้วเวลาปรับระยะขึ้นลงของเลนส์ขยายแล้ว จะไม่ไปจับตรงชุดเลนส์ขยายโดยตรงครับ แต่จะต้องจับที่ Spanner Fork แทนเพื่อป้องกันมือไปโดนที่เลนส์โดยไม่ตั้งใจ ซึ่งอาจจะทำให้เลนส์เป็นรอยได้ อย่างเช่นที่แพทย์ท่านนี้ทำครับ 




      ไม่เพียงเท่านั้น ปุ่มปรับระยะ Interpupillary Distance นี้สำหรับแว่นแบบ Flip-up แล้วจะเป็นที่ยึดจับของชุดไฟส่องสว่างไปด้วยครับ ซึ่งตรงนี้มันเป็นข้อดี ไม่เหมือนแว่นแบบ TTL ซึ่งจะต้องมีชุดยึดจับหลอดไฟที่เฉพาะกว่า และดูเหมือนว่าราคาก็จะแพงกว่าค่อนข้างมากด้วยครับ
(คือแพงกว่าทั้งตัวแว่น และชุดไฟส่องสว่าง)






สนใจผลิตภัณฑ์ โทรสอบถามผมได้ครับ ผมอนันต์ครับ Tel.0868910596 หรือถ้าต้องการชมสินค้ามาชมได้ที่ร้านนิวไชน่าครับ อยู่ที่ เยาวราช เฉลิมบุรี แต่ต้องโทรนัดเวลาสักหน่อยครับ



แว่นขยายสำหรับทันตแพทย์, ศัลยแพทย์ คืออะไร และมีความสำคัญอย่างไร (ตอนที่ 1)
      สำหรับแว่นตาสำหรับทันตแพทย์นั้นในภาษาอังกฤษมีชื่อเรียกเฉพาะว่า Dental Loupes หรือ Surgical Loupes แปลเป็นไทยตรงตัวว่า "แว่นขยายทันตแพทย์" หรือ "แว่นขยายผ่าตัด" 

ปุจฉา : ความรู้พื้นฐาน
1. เพราะอะไรจึงควรจะมีแว่นขยายทันตแพทย์สักอันเพื่อใช้
2. เมื่อไรจึงสมควรจะมีแว่นขยายทันตแพทย์
3. กายวิภาคของแว่นขยายทันตแพทย์ 
    - แว่นขยายทันตแพทย์โดยหลัก ๆ ในตลาดที่จำหน่ายมี 2 แบบที่จำหน่ายคือ แว่นทันตแพทย์แบบ Flip-up, และแว่นทันตแพทย์แบบ TTL(Through the lens) 
    - กำลังขยายของแว่นทันตแพทย์ที่ควรจะเลือกใช้ควรจะอยู่
 ที่เท่าไร เช่น 2.5 เท่า หรือ 3.5 เท่า

วิสัชชนา เพราะเหตุใดท่านจึงควรจะีมีแว่นขยายทันตแพทย์ไว้ใช้ส่วนตัวสักอัน ? 
   ตรงนี้ถ้าหากท่านไม่ได้มีอาชีพอะไรที่เกี่ยวกับการต้องใช้สาย
ตาเพ่งเป็นเวลานาน ๆ โดยทั้งนี้วัตถุที่กำลังเพ่งเป็นวัตถุที่ท่านกำลังให้ความสำคัญอยู่ เช่น เป็นงานเกี่ยวกับทันตแพทย์, งานเกี่ยวกับงานผ่าตัด ศัลยกรรม หรือเป็นงานซ่อมแซมวัตถุชิ้นเล็ก ๆ แต่มีความสำคัญมาก ๆ ท่านก็คงไม่จำเป็นต้องมีก็ได้ แต่หากท่านมีอาชีพเกี่ยวกับสิ่งเหล่านี้ และต้องทำเป็นประจำแทบทุกวัน หรือต้องทำค่อยข้างบ่อยแล้ว การมีแว่นตาลักษณะนี้สักอัน(เรียก Dental loupes) จะดีกว่ามาก ๆ เลยครับด้วยเหตุผลดังนี้คือ
                    ***ความสะดวกในการทำงานหรือกายวิภาคศาสตร์ในการทำ
 งานตามภาพแล้วท่านจะเห็นได้ว่าการทำงานในวิชาชีพเฉพาะแล้ว มันควรจะมีระยะการทำงานที่เหมาะสมที่สุด(Working Distance)เพื่อที่จะทำให้ผู้ปฎิบัติงานได้รับความสบายในการทำงานที่สุด ทั้งนี้ยังเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยที่จะได้รับการบริการที่ดีที่สุดไปด้วย เพราะถ้าหากการทำงานไม่ได้รับความสบายที่สุด ก็อาจจะไม่เป็นผลดีกับผู้มารับบริการไปด้วย 


่่

ภาพด้านล่างนี้อาจจะเห็นได้ชัดกว่าว่า ถ้าหากทันตแพทย์ท่านนี้ลองไม่ใส่แว่นอันนี้ทำงานแล้ว จะเห็นได้ว่า เขาก็คงต้องก้มหน้าก้มตาทำงานไปตลอดเวลา ซึ่งถ้าหากมันไม่ใช้เวลานานนักในการทำงานก็คงจะไม่เป็นไร แต่ในความเป็นจริงแล้วทันตแพทย์มีงานต้องทำตลอดวัน ซึ่งก็คงจะไม่เหมาะแน่ ๆ ที่จะต้องก้มหน้าทำงานตลอดเวลาทั้งวัน








 ให้ท่านสังเกตุได้เลยว่ากระดูกสันหลังของทันตแพทย์ท่านนี้ ถ้าหากต้องนั่งทำงานทั้งวันแล้วและทุก ๆ วันแล้ว คงจะไม่เป็นผลดีในระยะยาวอย่างแน่นอน

















60 - 80 % ของทันตแพทย์ รวมทั้งศัลยแพทย์มีประสบการณ์จากการปวดหลัง ปวดต้นคอ อันมีสาเหตุมาจากท่าทางการทำงานที่ผิดวิธี ตรงนี้มีสาเหตุมาจากการพยายามที่จะมองไปยังจุดที่ต้องทำการรักษาให้อยู่ในระยะโฟกัสของสายตาให้มากทีุ่สุด เช่น ปาก, ลำคอ, หรือแผลที่กำลังทำการศัลยกรรมอยู่ ซึ่งสิ่งที่่ดีที่สุดที่จะช่วยหลีกเลี่ยงปัญหาเหล่านี้คือ ท่านควรจะมีแว่นตาเฉพาะสักอันที่เหมาะสมกับการทำงานในลักษณะนี้

     อีกประการหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ภาพของวัตถุที่จะเข้ามาสู่สายตาท่าน(ตามภาพ)


ตามที่เห็นตามภาพถ้าหากว่าท่านมีแว่นตาขยาย(Dental Loupes) ที่เหมาะสมใช้แล้ว ภาพที่ท่านจะได้เห็นก็จะชัดเจน มองเห็นรายละเอียดได้มากกว่า(ภาพทางด้านขวามือ) ซึ่งก็จะทำให้การทำงานสะดวกขึ้น เกิดข้อผิดพลาดในการรักษาและวินิจฉัยน้อยที่สุด เป็นต้น

เมื่อไรจึงถึงเวลาสมควรจะมี Dental Loupes สักอัน
     ทันทีที่ท่านพร้อมครับ เพราะจากประสบการณ์ที่ฝรั่งสรุปกันมา Dental Loupes มีประโยชน์แม้กระทั่งนักเรียนทันตแพทย์ฝึกหัดที่ยังเรียนไม่จบหลักสูตรด้วยซ้ำไป อย่างที่ได้เรียนไปแล้วว่าในเรื่องของความสะดวกสบายในการปฎิบัติงาน แต่สำหรับทันตแพทย์มืออาชีพ หรือศัลยแพทย์มืออาชีพแล้ว มันจะยิ่งทวีประโยชน์ได้มากขึ้นอีก เพราะจะช่วยในการวิเคราะห์ วินิจฉัย และให้การรักษาที่ถูกวิธีและเหมาะสมที่สุด


กายวิภาคของแว่นทันตแพทย์ และประเภทของแว่นทันตแพทย์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด
     แว่นทันตแพทย์(Dental Loupes) ที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเท่าที่เห็นมี 2 ประเภทหลัก ๆ คือแว่นตาแบบ Flip-up และแว่นตาแบบ TTL(ย่อมาจาก Through the lens) ลักษณะและรูปร่างจะเป็นดังภาพด้านล่างครับ 



อยากให้ท่านชมภาพหน้าตรงของแว่นแบบ TTL และแว่นแบบ Flip-up ให้ชัดเจนอีกครั้ง



 ลักษณะที่เลนส์ขยายไปติดกับกระจกแว่นโดยตรง หรือถ้าไม่เช่นนั้นบางทีก็ติดตั้งแบบทะลุเข้าไปในกระจกแว่น
เลย เราจะเรียกแว่นลักษณะนี้ว่าเป็นแว่นแบบ TTL(Through the Lens dental loupes)    แว่นในลักษณะนี้มีทั้งข้อดีและข้อเสียครับ ข้อดีคือเป็นแว่นที่เห็นได้ค่อนข้างจะชัดเจนและให้ขอบเขตมุมมองของภาพ(Field of views) ที่กว้างกว่า  อันเนื่องมาจาก ชุดของเลนส์ขยายอยู่ใกล้กับกับลูกนัยน์ตาของผู้สวมใส่มาก
กว่า จึงทำให้ตาของผู้สวมใส่มองเห็นขอบเขตได้กว้างกว่า 

        ส่วนข้อดีอีกประการก็คือ มันเป็น Dental loupes ที่เบาดีทีเดียวครับ เพราะว่ามันไม่มีชุดพยุงชุดเลนส์เหมือนแว่น Flip-up 
         ข้อเสียของแว่นแบบ TTL มีเช่นกันครับ ที่เห็นได้ชัดที่สุดคือ มันมีราคาค่อนข้างสูงทีเดียวครับ คือราคาจะสูงกว่าแว่นแบบ Flip-up ประมาณได้เป็นเท่าตัวทีเดียว เพราะว่ามันต้องวัดตัดครับ คือท่านต้องทราบระยะ Interpupillary Distance หรือระยะระหว่างนัยน์ตาดำทั้งสองของท่านให้แน่นอนเสียก่อน ซึ่งก็อาจจะต้องไปให้จักษุแพทย์วัด หรือเดินเข้าไปวัดที่ร้านประกอบแว่นตา เพื่อที่ท่านจะได้แจ้งระยะ Interpupillary Distance ให้กับผู้ผลิตได้ทราบตอนที่ท่านจะสั่งซื้อแว่นแบบนี้ 
          ข้อเสียอีกประการหนึ่งของแว่นแบบนี้ก็คือมันจะปรับอะไรไม่ได้อีกแล้วครับ ไม่ว่าจะยกขึ้นลงหรือเลื่อนระยะเข้าออก ด้วยเหตุนี้แล้ว ระยะระหว่างลูกตา(Interpupillary Distance) ที่วัดต้องพอดีมาก ๆ ครับ จึงจะใช้งานแว่นลักษณะนี้ได้ดี


 ในส่วนของแว่นตาแบบ Flip-up จะมีลักษณะที่ผิดไปจากแว่นแบบ TTL บางประการครับ คือมันจะเป็นแว่นแบบ Dental Loupes ที่เลนส์ขยายไม่ไปติดกับกระจกแว่นหรือทะลุเข้าไปในกระจกแว่น แต่จะอยู่ด้านนอก ซึ่งมันจะมีชุดพยุงเลนส์ขยายติดกับกับกรอบแว่น เพื่อพยุงเลนส์ขยาย ชุดพยุงเลนส์ขยายนี่มีประโยชน์มากทีเดียวครับ คือมันจะทำให้แว่นพับขึ้นลงปรับระดับสูงต่ำได้ และยังสามารถจะทำให้เลนส์ขยายเลื่อนเข้า - ออกได้ด้วย
(ตามภาพด้านล่าง)
 

1 ความคิดเห็น: