วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2557

ความแตกต่างระหว่างแว่นตาผ่าตัดแบบ TTL กับแว่นตาผ่าตัดแบบ Flip up

ความแตกต่างระหว่างแว่นตาผ่าตัดแบบ TTL 


กับแว่นตาผ่าตัดแบบ Flip up

      ท่านครับสำหรับแว่นตาผ่าตัดทางการแพทย์หรือทันตแพทย์ที่
ใช้กันนี้ ไม่เหมือนกันนะครับ มันแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท
หลัก ๆ คือ

         1. แบบที่เรียกกันว่า TTL หรือแปลได้ว่า Trough - The - Lens หรือแปลให้เป็นไทยคือ เป็นแว่นตาผ่าตัดประเภทที่เลนส์ขยายเจาะเข้าไปในแว่น แว่นตาผ่าตัดแบบนี้เรียนว่าราคาสูงครับ ถ้าเทียบกับแบบที่สองที่ผมจะได้กล่าวต่อไป ราคาสูงกว่ากันประมาณ 4 เท่าหรือมากกว่าก็ว่าได้ มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งผมจะได้อธิบายต่อไปครับ





มาชมความแตกต่างของแว่นตาผ่าตัดแบบ TTL กับแบบ Flip up

         ที่ท่านเห็นทางซ้ายมือนี้จะเรียกว่า Flip up Loupes หรือแว่นตาผ่าตัดแบบ Flip up ส่วนที่อยู่ทางขวามือจะเรียกว่า TTL loupes(Through the lens Loupes) 






อันนี้ผมถ่ายให้เห็นของจริงครับ ที่เห็นนี้คือ Flip up Loupes ซึ่งท่านจะสามารถสังเกตุเห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อพับเลนส์จนสุดแล้ว ก็ยังคงมีช่องว่างระยะระหว่างเลนส์ขยายกับ ตาของผู้สวมใส่อยู่ดี 




เพราะว่าเลนส์ขยายนี้มิได้เจาะหรือทะลุเข้าไปในกระจกแว่น แต่จะอยู่แต่เพียงด้านนอกเท่านั้น ทำให้มุมมองของการมองเห็นจะแคบกว่า และเห็นยากกว่า ผู้สวมใส่ต้องใช้เวลาสักหน่อยในการปรับสายตา เพื่อทำความคุ้นเคยกับแว่น แว่นตาแบบนี้ท่านสามารถไปตัดเลนส์สายตามาใส่แทนกระจกที่ท่านเห็นได้เลยครับสะดวกมาก ๆ แว่นตาผ่าตัดแบบนี้ราคาย่อมเยากว่าค่อนข้างมากด้วย และหาซื้อได้ง่ายกว่าครับ



ส่วนที่เห็นด้านล่างนี้คือ ภาพจริงของแว่นตาผ่าตัดแบบ TTL  ท่านจะสามารถสังเกตุเห็นได้อย่่างชัดเจนเลยว่า ชุดของเลนส์ขยาย ถูกเจาะผ่านเข้าไปในกระจก ซึ่งลักษณะนี้แล้วจะทำให้เลนส์ขยายกับตาของผู้ใช้หรือผู้สวมใส่ อยู่ใกล้กันมากกว่า ซึ่งจะทำให้สามารถมองเห็นภาพของวัตถุได้ง่ายกว่า และค่อนข้างจะชัดเจนกว่า แต่ทั้งนี้แล้วราคาก็จะแพงกว่าค่อนข้างมากด้วย และก็ไม่สามารถเปลี่ยนกระจกแว่นเป็นเลนส์สายตาที่เหมาะสมกับสายตาท่านได้ด้วย เพราะว่าถูก Fix ไปแล้ว




เปรียบเทียบมุมมองระหว่างแว่นตาแบบ TTL และแว่นตาแบบ Flip up

          ผมอยากให้ท่านดูำภาพเปรียบเทียบของแว่นทั้งสองรุ่นนี้อีกครั้งครับ








        จากภาพด้านบนนั้นท่านจะพบว่า แว่นตาผ่าตัดแบบ TTL นั้นเลนส์ของแว่นจะอยู่ใกล้กับลูกตาคนใส่มากกว่า(ภาพที่ 3) ฉะนั้นแล้วจะมองเห็นขอบเขตของภาพได้มากกว่า ซึ่งก็คือเห็นภาพได้มากกว่าและชัดกว่าาด้วย

         ในขณะเดียวกันถ้าเปรียบเทียบกับแว่นตาผ่าตัดแบบ Flip up นั้นเลนส์ของแว่นจะอยู่ห่างจากลูกตาของคนใส่มากกว่า คือเลนส์ของแว่นจะอยู่นอกกระจกแว่น เพราะฉะนั้นคนใส่จะเห็นภาพก็เมื่อมองออกมาจากในแว่นตา ดังนั้นแล้วทำให้ภาพที่เห็นผ่านแว่นตาแบบ Flip up นี้จะมองเห็นด้วยขอบเขตที่จำกัดกว่า คือมองเห็นได้แคบกว่าหรือน้อยกว่านั่นเอง 

เปรียบเทียบภาพหน้าตรงของแว่นทั้งสองแบบ 


        อยากให้ท่านสังเกตุภาพหน้าตรงของแว่นทั้งสองรุ่นอีกครั้งครับท่านจะพบว่า แว่นแบบ TTL(แว่นด้านขวา) นี่จะไม่สามารถปรับอะไรได้เลยนะครับ ไม่ว่าจะไปปรับให้ก้มหรือเงย หรือจะไปปรับเข้า-ออก(หรือปรับให้ขยับไปซ้ายหรือขวา คือถ้าหากท่านจะตัดสินใจซื้อสักอันแล้ว ระยะระหว่างลูกตาทั้งสองของท่านที่แน่นอนที่สุดหรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Interpupillary Distance นั้นท่านจะต้องระบุให้แน่ชัดเพื่อที่ว่าผู้จำหน่ายเขาจะนำระยะนี้ไปเจาะกับกระจกแว่นเพื่อฝังเลนส์ลงไปในตำแหน่งที่แน่นอนที่สุดของลูกตาท่าน ตรงนี้ละครับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้แว่นแบบ TTL นี่แพงกว่าแว่น Flip up เพราะมันต้องตัดตามความต้องการของลูกค้านั่นเอง

บทสรุปข้อดีข้อเสีย ของแว่นตาผ่าตัดทั้งสองชนิด





โดยสรุปแล้วแว่นแบบ TTL  นี้จะมีน้ำหนักที่เบากว่าครับ 
 เพราะว่า่ท่านจะเห็นว่ามันไม่มีชุดพยุงเลนส์อะไรเลย 
 เพียงแค่เจาะเข้าไปในกระจกแล้วฝังเลนส์เข้าไปเท่านั้น ฉะนั้นแล้วน้ำหนักจะเบากว่ามาก ทั้งนี้แล้วมุมมองยังกว้างกว่าด้วย แต่ข้อเสียก็มีคือมันปรับอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะปรับขึ้นลง หรือปรับระยะตาให้เข้าหรือออก ทั้งนี้ราคาก็สูงด้วย

        ในส่วนของบทสรุปของแว่นแบบ Flip up นี่จะใช้งานได้ง่ายกว่า ราคาย่อมเยากว่า ปรับขึ้นลงได้ ปรับระยะห่างระหว่างตาได้ แต่ข้อเสียก็มีคือน้ำหนักค่อนข้างมาก ฉะนั้นเวลาใส่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีสายรัดศีรษะเพื่อกันแว่นหล่นโดยไม่ตั้งใจ และมุมมองจะแคบกว่าด้วย 

          สรุป ๆ แล้วแว่น Flip up นี้จะยืดหยุ่นกว่าค่อนข้างมากนะครับ ดูเหมือนจะมีคนใช้กันมากกว่าค่อนข้างมากด้วย ด้วยราคาที่ไม่สูงจนเกินไปนัก และสามารถใช้ได้โดยไม่ระบุบุคคล เพราะมันสามารถปรับได้หมด ถ้าท่านฝึกการใช้ทุกวัน ๆ ก็จะคุ้นเคยและชินกับการใช้งานไปเอง และท่านจะพบว่ามันมีประโยชน์มาก ๆ ทีเีดียว 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น